.............มีคนจำนวนหนึ่งเชื่ออย่างฝังใจว่าสถาบันการศึกษาที่
สอนศิลปะคือสถานที่สร้างคนให้เป็นศิลปิน..ความเชื่อที่ว่านี้แม้จะ
มีคำตอบที่เป็นรูปธรรมว่ามีศิลปินที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศไทยและ
ในโลกตะวันตกหลายคนต่างล้วนมีชีวิตผ่านระบบการศึกษาใน
สถาบันการศึกษาศิลปะเป็นจำนวนไม่น้อย.แต่ความเชื่อดังกล่าว
ก็เป็นที่กังขาต่อคนอีกกลุ่มเช่นกัน..กังขาตั้งแต่.การสงสัยว่าเป็นความ
เป็นจริงหรือที่สถาบันการศึกษาศิลปะสร้างคนทุกคนให้เป็นศิลปินได้
ทั้งหมดเพราะถ้าเป็นจริงตามที่เชื่อกัน.ณ.วันนี้.ประเทศไทยก็ควรจะ
มีศิลปินเป็นจำนวนนับพันนับหมื่นคนแล้ว.แต่เหตุไฉนในความเป็นจริง
จึงมีศิลปินที่ผ่านระบบการศึกษาเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่คนโดยในจำนวน
ไม่กี่คนก็มีทั้งศิลปินแท้ศิลปินสร้างภาพศิลปินพ่อค้าวานิชศิลปินราชการ
และศิลปินหลายหน้าปะปนกันไป
อีกทั้งยังกังขาว่า.สถาบันการศึกษาศิลปะสร้างคนให้เป็นศิลปินหรือสถาบัน
การศึกษาศิลปะเป็นแหล่งทำลายสกัดกั้นการพัฒนาผู้เรียนมิให้เป็นศิลปิน
หรือทำให้เกิดสภาวะสมองฝ่อด้วยการสร้างระบบสวามิภักดิ์..ระบบ
อุปถัมภ์จนไม่กล้าจะคิดนอกแบบครู-อาจารย์..ที่สำคัญมีคนสงสัยกัน
มากกว่าคนบางคนที่ไม่ผ่านระบบสถาบันการศึกษาศิลปะ..คนที่ศึกษา
ศิลปะนอกระบบที่ศึกษาศิลปะด้วยตนเองอย่างจ่าง.แซ่ตั้ง..ทำไมคน
จำนวนไม่น้อยจึงยอมรับและยกย่องให้เขาเป็นศิลปินโดยไม่มีข้อ
กังขา.. อย่างไรก็ตามหากกล่าวให้ที่สุด..เส้นทางเดินของจ่าง.แซ่ตั้งก็
มิใช่สูตรสำเร็จสำหรับทุกๆคนที่จะต้องเดินตามที่จะต้องปฏิเสธระบบ
การศึกษาจากสถาบันการศึกษาศิลปะหรือต่อต้านสถาบันการศึกษา
ศิลปะ..ทั้งนี้เพราะทั้งการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบ
เป็นเพียงแค่เงื่อนไขหนึ่ง.เป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่ง.ในขณะ
ที่ตัวตนของศิลปิน.สติปัญญา.เวลา.สถานการณ์.สิ่งแวดล้อมเชิง
บริบท.ต่างล้วนเป็นเงื่อนไขและเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อความสำเร็จ
ของศิลปินแต่ละคนด้วยเช่นกัน
แน่นอนว่าจ่างแซ่ตั้งคือศิลปินที่ไม่ผ่านการศึกษาในระบบสถาบันการศึกษา
ศิลปะเขาเรียนหนังสือแค่โรงเรียนเทศบาล2เรียนชั้นมูลเรียนได้ไม่เท่าไร.
สงครามโลกครั้งที่ 2ก็เกิดขึ้นจนเดี๋ยวนี้ก็ยังไม่เคยเข้าโรงเรียนอีก
(มติชนสุดสัปดาห์ 2532 : 46)
แม้จ่างไม่ได้เข้าเรียนตามระบบแต่จ่างก็ศึกษาแสวงหาความรู้นอก
ระบบหรือแสวงหาความรู้ตามอัธยาศัยอย่างมุ่งมั่นเสมอต้นเสมอ
ปลายรวมทั้งได้สร้างงานศิลปะทั้งภาพเขียนและบทกวีอย่างต่อเนื่อง
โดยจ่างแซ่ตั้งได้เขียนความเรียงสะท้อนภาพชีวิตและความคิดของเขา
ก่อนจะอำลาโลกเอาไว้ตอนหนึ่งว่า
.............ฉัน -ตั้งแต่เก้าขวบ
.............จวบจนถึงอายุห้าสิบห้าปี
.............วันหนึ่งเขียนบทกวี
.............วันหนึ่งสร้างงานจิตรกรรม
.............สลับกันสร้างทุกๆวัน
.............นานรวมถึงสี่สิบหกปี
.............วันนี้ถึงบทสุดท้ายแล้ว
.............เป็นจริงอย่างที่จ่างแซ่ตั้งรำพึงถึงชีวิตอันขมขื่นในช่วง
วิกฤติของชีวิตและครอบครัว.ซึ่งจากความเรียงที่สอดคล้องกับผลงาน
การสร้างสรรค์บทกวีและจิตรกรรม.โดยเฉพาะผลงานจิตรกรรมนั้นมี
ปริมาณที่ควรค่าต่อการเคารพและมีคุณภาพที่ควรค่าต่อการนับถือ
ในคุณภาพทั้งของผลงาน..ทั้งที่จ่างแซ่ตั้งไม่เคยมีรางวัลใดๆจาก
วงการทัศนศิลป์มอบให้เขาทั้งๆที่ไม่เคยได้รับการยกย่องว่าเป็น
ศิลปินชั้นเยี่ยมและถูกคัดเลือกจากคณะกรรมการคัดเลือกให้เป็น
ศิลปินแห่งชาติในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่..รวมทั้งเคารพจำนวน
ปริมาณผลงานจิตรกรรมที่สร้างสรรค์เอาไว้มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับศิลปินที่ขัดสนเงินทองอย่างเขา.ขาด
ฐานทางสถาบันการศึกษาอย่างเขา..ขาดนักวิจารณ์ที่จะช่วย
สื่อสารผลงานของเขาให้เป็นที่เข้าใจต่อสื่อมวลชนและขาดอีก
หลายสิ่งหลายอย่างที่น่าจะทำให้เขาเลิกลาหันหลังให้กับการ
สร้างสรรค์งานที่แทบจะไม่เป็นแสงสว่างในอนาคตของการมีชีวิต
อยู่ในประเทศนี้
..............แม้จ่างแซ่ตั้งจะขาดในหลายสิ่งที่คนทำงานศิลปะคนอื่นๆมี
แต่เขาก็มีในสิ่งที่คนทำงานศิลปะคนอื่นๆขาด..จ่างแซ่ตั้งมีอะไรอยู่ในตัวเขา
จ่างมีสมองซีกขวาที่มีคุณภาพและเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของคน
ที่มีศักยภาพทางด้านทัศนศิลป์ซึ่งเป็นทัศนปริภูมิเป็นเรื่องอุปมาเปรียบเทียบ
เป็นการหยั่งรู้สังเคราะห์ (อ่านนายแพทย์สันต์.สิงหภักดี 2527 : 316-317)
............จ่างเป็นศิลปินที่มีคุณสมบัติในตัวที่กระหายค้นคว้าทดลอง
และมีความอยากรู้อยากเห็นที่เข้มข้น(Intense curiosity)โดยดูได้จาก
ผลงานภาพเขียนใบหน้าตัวเองจำนวน 400ภาพในนิทรรศการ
ครั้งนี้.โดยเฉพาะภาพสะท้อนเรื่องของเทคนิควิธีการที่หลากหลาย
จ่างแซ่ตั้งเป็นศิลปินที่มีความมุ่งมั่นมีความมานะพากเพียร
มีพลังจากภายในที่สูงและมีความคิดที่แปลกแตกต่าง (originality)
ไปจากศิลปินในยุคเดียวกัน..อีกนัยหนึ่งก็คือเขาเป็นศิลปินชนกลุ่ม
น้อยที่ทวนกระแสหรือมีความคิดที่สวนทางกับศิลปินชนกลุ่มใหญ่
ในช่วงขณะนั้น...จ่างแซ่ตั้งเป็นนักคิดเป็นคนที่ชอบใคร่ครวญต่อสิ่ง
ต่างๆเขาเป็นศิลปินที่รักเสรีภาพในความคิดและสร้างสรรค์ทำงาน
ในสิ่งที่เขาเชื่อมั่นและศรัทธา..ขณะเดียวกันแม้เขาจะรักเสรีภาพใน
ความคิดและการแสดงออกแต่จ่างจะใช้เสรีภาพของเขาเคียงคู่ไป
กับเรื่องของคุณธรรมและจริยธรรม.สิ่งเหล่านี้ปรากฎอยู่ในวิถีการ
ดำเนินชีวิตและแฝงอยู่ในผลงานของเขาทั้งผลงานจิตรกรรมและบทกวี
จ่างแซ่ตั้งเป็นศิลปินที่ตั้งมาตรฐานเอาไว้กับตัวเองและผลงานสูง
การเน้นคุณภาพของงานศิลปะ..ความเป็นศิลปะอย่างสูง..แม้ทางหนึ่ง
จะเป็นเรื่องยากลำบากและนำมาซึ่งปัญหาในชีวิตครอบครัวในขณะ
ที่เขามีชีวิตอยู่..แต่เขาก็ทำผลงานที่มีความเป็นศิลปะมีขีดเส้นแบ่ง
ที่แตกต่างไปจากผลงานเพื่อการเอาใจตลาดและเอาใจแม่ยกในสังคม
ชั้นสูงอย่างชัดเจน...นอกจากนั้นจ่างแซ่ตั้งถือได้ว่าเป็นศิลปินที่มี
คุณสมบัติไวต่อการรับรู้ต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ..จนทำให้เรา
ได้สัมผัสกับมุมสังเกตที่คนทั่วไปมองไม่เห็นมากมายหลายมุมมองทั้ง
ในบทกวีและผลงานจิตรกรรมของเขา...เหล่านี้เป็นจำนวนหนึ่งที่ถือ
ว่าจ่างแซ่ตั้งมี...ในขณะที่คนทำงานศิลปะหลายคนไม่มี.และสิ่งที่กล่าว
มานี้ถือเป็นคุณสมบัติจำนวนหนึ่งของศิลปินที่มีความโดดเด่นทาง
ด้านสมองและสติปัญญา...ด้วยสิ่งที่กล่าวมา.จึงส่งผลทำให้การสร้างสรรค์
ผลงานของเขาน่าจะจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “กลุ่มกบฎสร้างสรรค์”ซึ่งใน
ทางประวัติศาสตร์ศิลปะก็เกิดขึ้นมาโดยตลอดและส่งผลต่อการ
คลี่คลายและพัฒนามาโดยตลอด..ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มอิมเพรสชั่นนิสม์
ในยุโรปที่กบฏต่อศิลปะตามหลักวิชาและสุนทรียศาสตร์ดั้งเดิม..โดย
การเปิดแสดงผลงานของตน 8ครั้งในช่วงปีค.ศ. 1874-1886หรือการเกิด
ของแอบสแตรคท์เอกเพรสชันนิสม์ในสหรัฐอเมริกา..ซึ่งกลุ่มศิลปินที่
ถูกจัดให้เป็นกลุ่มอะวองการ์ดมีอยู่หลายคนเช่นพอลลอค,กอร์กี,
เดอ.คูนิ่ง,ฟรานซ์.ไคลน์,มาร์ค.รอธโก,เดวิด.สมิธ,แฟรงค์.สเตลลา
และโดแนลด์์.จัดด์เป็นต้น.สำหรับในทวีปเอเซียกลุ่มกบฎสร้างสรรค์ใน
ประวัติศาสตร์ศิลปะญี่ปุ่นก็มีไม่น้อยเช่นกลุ่มกูตาอิ (Gutai)ซึ่งมีศิลปิน
ที่มีบทบาทเช่นจิโร.โยชิฮารา,คาซูโอะ.ชิรากะ,ชาดามะสะ.โมโตนะกะและ
อัทสุโกะทานากะเป็นต้น..ในขณะที่ประเทศไทยก็ต้องถือว่าจ่างแซ่ตั้ง
เป็นคนหนึ่งที่สามารถกล่าวได้ว่าเขาเป็นกบฎสร้างสรรค์งานศิลปะทั้ง
ด้านจิตรกรรมและบทกวี..กล่าวสำหรับผลงานจิตรกรรมของเขาแม้ใน
บทความนี้จะไม่ขอกล่าวถึงผลงานชุดนามธรรมที่ในเชิงปรากฎการณ์
อาจจะมีจุดร่วมกับศิลปนามธรรมตะวันตกหรือกลุ่มอะวองการ์ดใน
อเมริกาแต่หากมีการศึกษาอย่างวิเคราะห์ศึกษาตั้งแต่รากความคิดของ
จ่างแซ่ตั้งแนวความคิดของเขาทรรศนะและจุดยืนของเขาตลอดจน
กระบวนการสร้างงานชุดนามธรรมขาว-ดำของเขาก็จะพบว่าผลงาน
ของเขาสะท้อนรากที่มาของความเป็นตะวันออกอย่างชัดเจนเกี่ยวข้อง
กับเซนเต๋าและพุทธตามคำอธิบายของเขาอย่างเป็นเหตุเป็นผลซึ่งปรากฏ
อยู่ในบันทึกของเขาที่เขียนขึ้นเมื่อวันที่ 24กรกฎาคม 2525..ย้อนกลับมา
พิจารณาผลงานภาพใบหน้าของตนเองจำนวน 400ชิ้นที่ใน
ประวัติศาสตร์วงการศิลปะในประเทศไทยยังไม่เคยมีใครสร้างงานชุด
ใบหน้าตัวเองมากได้เท่ากับเขาและในวงการศิลปินระดับโลก
เท่าที่มีข้อมูลขณะนี้ก็ยังไม่พบข้อมูลว่ามีศิลปินคนใดในโลกสร้าง
งานภาพใบหน้าตัวเองได้มากเท่ากับจ่างแซ่ตั้งเช่นกันซึ่งก็ต้องยอมรับ
ว่าในผลงานภาพใบหน้าของตนเอง จำนวน 400ภาพได้สะท้อน
ให้เห็นถึงความพยายามที่จะไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบหนึ่งรูปแบบใด
แบบปิดตายหรือใช้วัสดุชนิดใดชนิดหนึ่งโดยไม่ยืดหยุ่นหรือการ
แก้ปัญหาการไม่ผูกติดดังกล่าวกับการที่จ่างมีความสามารถอีกด้านหนึ่ง
คือด้านบทกวีและมีทักษะการเขียนอักขระจีนรวมทั้งความสนใจใฝ่รู้ด้าน
ศาสนาปรัชญาตะวันออกจึงส่งผลทำให้ภาพใบหน้าตัวเองจำนวนหนึ่ง
ประหนึ่งมีบทกวีรวมอยู่ในภาพรวมทั้งซ่อนความหมายให้คนได้
ศึกษาขบคิดมากมาย
...............จุดนี้จึงอาจกล่าวได้ว่า จ่างแซ่ตั้งเป็นศิลปินอีกคนหนึ่งที่
มีบทบาทในการเป็นผู้นำศิลปะต่างแขนงมาอยู่ร่วมกันและนำวัสดุ
กลวิธีต่างประเภทมาใช้ร่วมกันได้อย่างหลากหลายซึ่งส่งผลทำให้
งานของเขากลายเป็นผลงานแบบกบฎสร้างสรรค์ที่ทวนกระแสทาง
ศิลปะอย่างมิอาจปฏิเสธได้
..............อย่างไรก็ตามในจุดแข็งที่เป็นข้อดีหลายข้อของจ่างแซ่ตั้ง
ที่ส่งผลทำให้เขาเป็นศิลปินประเภทกบฎสร้างสรรค์ก็มีจัดอ่อนบาง
ประการเช่นกันซึ่งการกำหนดวิถีชีวิตการเลือกทางเดินของชีวิตที่
สวนทางกระแสสังคมกระแสโลกได้ส่งผลทำให้เขาแม้จะเป็นศิลปิน
ที่ดำรงชีวิตอย่างสมถะเรียบง่ายอย่างที่สุดก็มิอาจหลีกเลี่ยงจากภาวะ
ความขาดแคลนเชิงคุณภาพของวัสดุที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปะ
ของเขาบางภาพ
..............ดังนั้นผลงานของเขาเฉพาะบางชิ้นจึงมีความอ่อนแอและ
มีความคงทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็นยกเว้นจะได้รับการดูแลรักษาใน
สถานที่ที่มีความพร้อมทั้งการควบคุมอากาศอุณหภูมิความชื้น
ความสะอาดฯลฯ
..............นอกจากนั้นจุดอ่อนของจ่างแซ่ตั้งอีกประการหนึ่งก็คือ
การที่เขาเป็นคนที่ตั้งมาตราฐานของผลงานของการกำหนดวิถีชีวิตตนเอง
ของเพื่อนมนุษย์เอาไว้สูงเกินจากมาตราฐานทั่วไปจึงทำให้เขาต้อง
พบกับความขัดแย้งผิดหวังจนยากที่บางคนจะเข้าใจในการแสดงออก
ของเขาหากไม่ศึกษาตัวเขาทั้งบริบทองคาพยพ…
..............เรื่องราวของจ่าง แซ่ตั้งนั้นมีมากมายทางเดินชีวิตของเขาล้วน
น่าติดตามศึกษาผลงานของเขามีอีกมากที่ควรแก่การหวนกลับเพื่อการ
วิเคราะห์ถึงภูมิปัญญา
..............วันนี้ มีผลงานศิลปะภาพใบหน้าตัวเอง 400ภาพแสดงอยู่
เบื้องหน้าให้ผู้คนได้ชื่นชม
...............ชื่นชมกับ 400 ภาพศิลปะเบื้องหน้าที่แต่ละภาพล้วนมีสาระ
สำคัญแอบซ่อนอยู่เบื้องหลัง