ปูชนียบุคคลสำคัญท่านหนึ่งที่ต้องการจารึกไว้ในประวัติศาสตร์
ศิลปะสมัยใหม่ของไทยคือจ่างแซ่ตั้งศิลปินและกวีผู้ใช้ชีวิตแบบสมถะ
เรียบง่ายแต่ผลงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะของท่านเป็นพลังสำคัญที่
ทำให้วิวัฒนาการทางด้านศิลปะสมัยใหม่ของไทยมีความเป็นเอกลักษณ์
พิเศษแตกต่างไปจากชาติอื่นๆในแถบภาคพื้นเอเชียอาคเนย์
ถึงแม้ว่าจ่างจะศึกษาศิลปะและฝึกฝนด้วยตนเองมาโดยตลอดก็ตาม
แต่ทัศนคติในการทำงานของท่านนั้นมีสาระสำคัญต่อวงการศึกษาศิลปะ
อย่างมาก
..ท่านได้เคยกล่าวว่าการเขียนรูปหรือการทำงานศิลปะนั้นสื่อ
สำคัญอยู่ที่การริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและสมองของเราคำกล่าวนี้
ทำให้นึกถึงหลักธรรมที่สามารถนำมาใช้ประยุกต์กับการปฏิบัติงานศิลปะ
ได้เช่นกัน
.นั่นคือการสร้างด้ายสติสัมปชัญญะและการสร้างด้วยปัญญา
ซึ่งในความเป็นจริงนั้นผู้ใกล้ชิดกับจ่างหลายท่านได้เล่าให้ฟังว่าการทำงาน
ศิลปะของจ่างเป็นการเจริญธรรมอย่างหนึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง
ทศวรรษ๒๔๙๐และ๒๕๐๐ผลงานที่ผลิตขึ้นส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น
นามธรรม
..........งานศิลปะแนวนามธรรมของจ่างในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีการ
แสดงออกซึ่งพลังแห่งความรู้สึกและจิตวิญญาณที่สมบูรณ์ที่สุดและอาจ
กล่าวได้ว่าในช่วงเวลานี้จ่างเป็นศิลปินไทยคนเดียวที่เขียนภาพแนว
นามธรรมโดยมีรากฐานที่มาจากรากเหง้าทางด้านวัฒนธรรมของจีนซึ่งเป็น
วัฒนธรรมเก่าแก่ดั้งเดิมของบรรพบุรุษและครอบครัวของเขาจ่างมีความ
สนใจในธรรมชาติปรัชญาจีนและบทกวีนอกจากนี้การทำงานของเขายังมี
ความสัมพันธ์กับพุทธศาสนาลัทธิเซ็นและลัทธิเต๋าจากการได้พูดคุยกับ
สมาชิกในครอบครัวของจ่างทำให้ทราบว่าการทำสมาธิก่อนที่จะลงมือเขียน
ภาพนั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับศิลปินท่านนี้มากดังนั้นพลังในการทำงานของ
จ่างจะเห็นได้จากการใช้ฝีแปรงลากเป็นเส้นที่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเสรี
การตวัดเส้นหรือการลากเส้นนั้นเป็นไปอย่างฉับพลันคล่องแคล่วเป็นการ
รวมใจและมือให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันศิลปะการเขียนอักษรจีนก็เป็นอีก
ส่วนหนึ่งที่ให้ความบันดาลใจแก่การทำงานของจ่างภาพเขียนในแนว
นามธรรมที่ปรากฏไม่เพียงแต่จะเผยให้เห็นถึงความรู้สึกอันล้ำลึกเท่านั้น
แต่ยังเป็นเสมือนภาษาสากลที่สามารถสื่อให้เข้าใจได้จากการใช้เส้นรูปทรง
และสีที่มีทั้งพลังอันแรงกล้าผสมผสานกับความรู้สึกที่ละเอียดอ่อน
ส่วนภาพเหมือนของจ่างซึ่งเขียนขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๔๙๗จนกระทั่ง
ถึงปีพ.ศ.๒๕๓๐เป็นเสมือนการบันทึกชีวิตภาวะอารมณ์ความรู้สึกในช่วง
เวลาต่างกันภาวะของความยากลำบากในการดำรงชีวิตของจ่างเป็นภาวะ
ที่เต็มไปด้วยความกดดันอันเป็นสาเหตุของการนำมาสู่การทำงานที่ดูรุนแรง
และเต็มไปด้วยพลังความรู้สึกเราสามารถสัมผัสกับชีวิตได้จากการอ่าน
ความรู้สึกที่แฝงอยู่บนใบหน้าแววตาของศิลปิน
..การใช้สีน้ำหนักแสงเงา
และฝีแปรงทำให้ภาพมีทั้งความน่ากลัวความลึกลับความทรนงความหนักแน่น
ความสิ้นหวังความมั่นใจความท้อแท้ความหวาดระแวงความสุขความทุกข์
ความผ่อนคลายและความสนุกสนานคละเคล้ากันอย่างหลากหลายและ
มีรสชาติ
..ภาพเหมือนของจ่างสะท้อนภาพชีวิตทั้งในแง่บวกและแง่ลบ
เสมือนไฟชีวิตที่มีความสว่างเจิดจ้าร้อนแรงและความมืดมนอันเป็น
ความหม่นหมองและความทุกข์ที่แท้จริง
..........ภาพเหมือนของจ่างทั้งหมดทำให้ผู้เขียนต้องหยุดคิดพิจารณาถึง
สภาวะชีวิตมนุษย์แก่นสารและสาระสำคัญของชีวิตที่แท้จริงนั้นคืออะไร
ภาพเหมือนของจ่างเป็นเสมือนสัญลักษณ์ที่แสดงสัจธรรมของชีวิตซึ่งมี
ความชัดเจนและความสมบูรณ์ภาพเหมือนเหล่านั้นมีความหลากหลายใน
เทคนิคและรูปแบบที่เหมือนจริงรูปแบบที่เป็นกึ่งนามธรรมและนามธรรม
เมื่อกล่าวถึงเทคนิคจะเห็นได้ว่ามีการใช้วัสดุที่สอดคล้องกับเทคนิคไม่ว่า
จะเป็นการปาดป้ายสีการแต้มจุดหรือการขีดเส้นเพียงแผ่วเบาบนพื้นที่ว่าง
ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงจังหวะของอารมณ์ความรู้สึกตลอดจนจิตวิญญาณ
ของศิลปินซึ่งมีผลกระทบทางด้านจิตวิญญาณอย่างสูงภาพเหมือนทั้งหมด
ของจ่างเมื่อนำมาจัดวางเรียงรายต่อเนื่องกันนั้นเปรียบเสมือนการตั้ง
คำถามที่ว่า “ฉันคือใคร”เป็นคำถามที่ท้าทายให้ผู้ดูต้องถามตนเองและพิจารณา
ถึงความเป็นอัตตลักษณ์เป็นคำถามในเชิงปริศนาซึ่งศิลปินไม่ต้องการคำตอบ
แต่ผู้ดูเท่านั้นที่ต้องคิดและตอบตนเองในระหว่างปีพ.ศ.๒๕๓๘และ๒๕๓๙นั้น
ศูนย์เอเชียมูลนิธิญี่ปุ่นในกรุงโตเกียวได้จัดนิทรรศการศิลปะสมัยใหม่ของประเทศ
แถบเอเชียชื่อ AsianModernismขึ้น
..ผู้จัดได้นำศิลปะแนวนามธรรมรวมทั้ง
ภาพเหมือนของตนเองของจ่างไปแสดงพร้องกับงานของศิลปะไทยชั้นบรมครูท่านอื่นๆ
ณประเทศญี่ปุ่นอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบวิวัฒนาการ
ทางด้านศิลปะแนวนามธรรมในประเทศของกลุ่มอาเซี่ยนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในอินโดนีเซียฟิลิปปินส์และประเทศไทยนั้นจะเห็นได้ว่าอิทธิพลของศิลปะแนวนามธรรม
จากยุโรปและอเมริกาเช่นศิลปะแนวแอ็บสแตรคเอ็กซเพรสชั่นนิสม์ (Abstract Expressionism)ได้เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของศิลปะสมัยใหม่
ในประเทศดังกล่าวมากในช่วงของทศวรรษ๒๕๐๐และ๒๕๑๐แต่ในกรณีของไทยนั้น
ในขณะที่กระแสอิทธิพลของตะวันตกกำลังมาแรงจ่างสร้างสรรค์ศิลปแนวนามธรรมโดยมิได้
รับอิทธิพลทางความคิดหรือแบบอย่างของตะวันตกแต่ประการใดตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น
ว่ารูปแบบของศิลปะแนวนามธรรมของจ่างได้ความบันดาลใจและมีที่มาจากรากฐาน
ทางวัฒนธรรมของจีนซึ่งมีความผูกพันอย่างใกล้ชิดกับชีวิตและการทำงานของศิลปิน
ภาพเขียนแนวนามธรรมของจ่างมักมีขนาดใหญ่สีที่ใช้ก็จะเป็นเพียงสีขาวดำ
และมีความหนายากต่อการเก็บรักษา
..บางครั้งท่านเขียนภาพโดยใช้สีขาวบน
พื้นขาวและมีสีดำบนพื้นดำ
.ฝีแปรงที่บดขยี้หรือป้ายตวัดบนผืนผ้าใบมีการใช้จังหวะอารมณ์
ความรู้สึกและแม้กระทั่งพื้นที่อันว่างเปล่าที่ปรากฏในงานสะท้อนให้เห็นถึงจิตวิญญาณ
ของความเป็นตะวันออกอย่างชัดเจน
..........ในขณะที่จ่างยังมีชีวิตอยู่นั้นแม้ว่าการสร้างสรรค์ศิลปะของเขาจะ
ไม่เป็นที่ยอมรับของคนบางกลุ่มแต่การไม่ยอมรับมิได้เป็นผลเสีย
แต่ประการใดในทางตรงกันข้ามเมื่อกาลเวลาผ่านไปการทำงาน
ซึ่งเป็นลักษณะทวนกระแสของศิลปะซึ่งเป็นที่นิยมในขณะนั้นกลับ
เป็นตัวที่บ่งบอกให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ความเป็นตัวตนที่แท้จริง
ของศิลปะและความเป็นต้นฉบับของศิลปะงานนามธรรมของจ่างมีคุณค่า
ทางประวัติศาสตร์ศิลปะของไทยและของเอเซียอาคเนย์ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
และต้องสงวนรักษาไว้เป็นอย่างดีเพื่อชนรุ่นหลังจะได้มีโอกาสชื่นชมต่อไป
เมื่อย้อนกลับมาดูงานภาพเหมือนของจ่างอีกครั้ง
..จะเห็นได้ว่าการเขียน
ภาพของท่านจะมีลักษณะของการทำงานที่เป็นแบบไม่ย่ำอยู่กับที่
..มีการ
ใช้รูปแบบและเทคนิคเปลี่ยนกลับไปกลับมาโดยตลอด
..จ่างจะไม่ยึดมั่นอยู่
กับรูปแบบวิธีการหรือรูปทรงภายนอกที่ปรากฏ
..คุณสมบัติที่แท้จริงของ
ศิลปินย่อมจะไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งดังกล่าวซึ่งมักจะเป็นตัวก่อให้เกิดอุปสรรค
ในการสร้างสรรค์เพราะเหตุว่าศิลปินไม่สามารถหลีกเลี่ยงกฏเกณฑ์เหล่านั้น
ทำให้ขาดซึ่งอิสรภาพและเป็นหนทางที่ปิดกั้นมิให้ศิลปินได้เข้าถึงสัจธรรม
ของชีวิต
..ดังนั้นการลากเส้นหรือการตวัดพู่กันในแต่ละครั้งของจ่างจะแฝงไว้
ด้วยพลังความมั่นคงเป็นไปอย่างรวดเร็วและเด็ดขาดเป็นการถ่ายทอดภาวะ
ของจิตที่บริสุทธิ์ในช่วงขณะปฏิบัติงานหลุดพ้นจากพันธนาการใดๆทั้งสิ้น
จ่างใช้จิตวิญญาณของตนเข้าสัมผัสกับธรรมชาติและสิ่งต่างๆที่เขียน
หลักการสำคัญของศิลปินท่านนี้อีกประการหนึ่งคือการถ่ายทอดวิญญาณของ
สิ่งที่เขียนส่วนสิ่งที่ไม่อาจจะมองข้ามไปได้นั้นคือการใช้ฝีแปรง
..ทีพูกัน
และการจุดด้วยปากกาหรือดินสอมักจะประสานกลมกลืนไปกับการเคลื่อนไหว
เปรียบเสมือนชีวิตที่ต้องดำเนินไปในกรณีของจ่างนั้นเทคนิคในการเขียนภาพ
หรือความงามที่ปรากฏมิใช่สิ่งสำคัญที่สุดจิตใจต่างหากเป็นเรื่องที่แสดงความเป็น
สัจจธรรมโดยตรง
...นอกจากนี้บทกวีของจ่างบางบทมีการใช้ภาษาซึ่งเป็นคำง่ายๆ
ในลักษณะซ้ำๆกันหากนำบทกวีเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับศิลปะแนวคอนเซพฌวล
ในปัจจุบันภาษาที่ใช้จะเป็นสื่อกระตุ้นและนำให้ผู้อ่านเกิดความคิดและเกิดมโนภาพ
ได้เช่นกัน
...จากการศึกษาดูงานของจ่างทำให้เกิดคำถามขึ้นในใจในแง่ที่ว่าความเป็น
ศิลปินนั้นขึ้นอยู่กับอะไร
..แน่นอนคงมิใช่สถาบันหรือค่านิยมตามกระแสของศิลปะ
หรือการยอมรับของสังคมในช่วงขณะหนึ่งขณะใดแต่ด้วยจิตวิญญาณของความเป็น
ศิลปินอย่างแท้จริงเท่านั้นที่อยู่เหนือขอบเขตมิติของกาลเวลาสถานที่หรือกฎเกณฑ์ใดๆ
ทั้งสิ้น
.ผลงานสร้างสรรค์ของจ่างเกิดจากความรักความศรัทธาตลอดจนการรู้คุณค่า
ของศิลปะ
..ดังนั้นความเป็นศิลปินของจ่างจึงเป็นที่ประจักษ์และผลงานของท่านยังเป็น
คุณูปการต่อการศึกษาทางด้านศิลปะและวงการศิลปกรรมร่วมสมัยของไทยต่อไป
อีกนานเท่านาน


ผ.ศ.สมพรรอดบุญ
คณะวิจิตรศิลป์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มีนาคม...๒๕๔๓