.............ในช่วงเวลา 19ปีก่อนเสียชีวิต (พ.ศ. 2512-2531)
จ่างแซ่ตั้งได้เขียนภาพเหมือนตัวเอง (Self Portrait)ด้วยเทคนิค
สีน้ำมันสีน้ำสีโปสเตอร์และเส้นปากกาชนิดต่างๆจำนวน
ไม่น้อยกว่าร้อยภาพภาพเขียนเหล่านี้เป็นตัวแทนอารมณ์และ
ความรู้สึกต่างๆที่จ่างมีต่อสังคมและสภาพสิ่งแวดล้อมที่เป็นอยู่
รอบตัวภาวะจิตใจที่ถูกกดดันความเจ็บปวดเศร้าหมองความ
รันทดและความขมขื่นปรากฏอยู่ในภาพเหมือนของเขาเกือบ
ทุกภาพการวาดภาพเหมือนของจ่างเป็นเสมือนการเดินทาง
สู่โลกเร้นลับโลกส่วนตัวอันแสนโดดเดี่ยวเพื่อบอกเล่า
เรื่องราวให้ผู้อื่นได้รับรู้โดยสำแดงผ่านภาษาทางทัศนศิลป์
ที่ลึกซึ้งแฝงไว้ด้วยคุณค่าที่น่าศึกษายิ่ง

จ่างกล่าวถึงงานของเขาว่า

............แรงบันดาลใจ…มันเกิดจากหลายๆด้านแต่ที่ชัดที่สุด
คือคำถามที่ว่า
.ตัวเองมีชีวิตทำไมอยู่ทำไม อยู่เพื่ออะไร
สร้างสรรค์อะไรได้บ้าง…

.............จ่างใช้เวลาทั้งหมดของชีวิตในการสร้างสรรค์งานศิลปะ
และบทกวีอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเสมือนจะรู้ว่าเวลาของตนนั้น
มีน้อยกว่าคนอื่นผลงานจิตรกรรมนับพันชิ้นและหนังสือไม่ต่ำกว่า
30เล่ม (ตีพิมพ์ไปแล้ว 16เล่ม )กับอายุขัย 55ปีของเขาเป็นเครื่อง
บ่งชี้ให้เห็นว่าเขาใช้เวลาของเขาอย่างมีค่ายิ่งมิได้สิ้นเปลืองไปกับ
ความสำมะเลเทเมางานสังคมหน้าไหว้หลังหลอกเกียรติยศ
ชื่อเสียงอันเป็นภาพลวงหรือทรัพย์สินเงินทองที่หลายคนต้อง
ยอมลดค่าความเป็นคนลงไปมากมายเพียงเพื่อให้ได้มาสิ่งที่
ศิลปินใหญ่ส่วนมากเขามีกันจ่างแทบไม่มีแต่กลับมีสิ่งที่ศิลปิน
ใหญ่ส่วนมากไม่มีนั่นคือความยากจนความสมถะ
..และอหังการ
จ่างไม่ยอมขายงานของตัวเองด้วยเหตุผลส่วนตัวที่น้อยคนจะ
เข้าใจ

.............ในปี พ.ศ. 2528 จ่างสร้าง “หอศิลป กวี จ่าง แซ่ตั้ง“จากบ้าน
ชั้นเดียวที่เก่าแสนเก่าโดยบุไม้ฉำฉาไว้ด้านในเพื่อให้พื้นผนังเรียบ
พอจะแขวนภาพและบทกวีส่วนนอกบ้านเป็นโครงไม้ปะติดปะต่อ
ดูไม่แตกต่างจากโรงเก็บของ
..โดยหวังว่าจะให้คนทั่วไปมาชื่นชม
งานศิลปะและบทกวีที่เขาสร้างขึ้นแต่ไม่กี่ปีหอศิลปแห่งนี้ก็ต้องปิด
ตัวเองลง
.เนื่องจากทนคนที่จ้องแสวงหาผลประโยชน์ไม่ไหวซ้ำยัง
ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
..ด้วยฐานะที่คลอนแคลนลง
ทุกวันจากที่เคยเขียนภาพสีน้ำมันบนผ้าใบจ่างต้องหันมาเขียน
ภาพสีน้ำและสีโปสเตอร์ลงบนกระดาษสุดท้ายเหลือเพียงปากกา
ลูกลื่นกับกระดาษที่ใช้สำหรับพิมพ์ดีด

.............ทำไมจ่างจึงเขียนภาพเหมือนตัวเองเอาไว้มากมายเช่นนั้น
ศิลปินในอดีตแม้จะเขียนภาพเหมือนตัวเองบ้างแต่ก็มีไม่มากนัก
โดยเฉพาะศิลปินไทยยังไม่เคยมีผู้ใดเขียนภาพตัวเองเป็นชุดเช่น
จ่างถ้าจะวิเคราะห์ในประเด็นนี้ก็จะพบว่าจ่างเริ่มต้นอาชีพด้วย
การรับจ้างเขียนภาพเหมือนด้วยผงถ่านมาก่อนจ่างเป็นนักเขียน
ภาพเหมือนด้วยผงถ่านยุคแรกๆที่เขียนได้อย่างละเอียดประณีต
แม้ลูกค้าของเขาจะนำภาพถ่ายเก่าๆมีขนาดเล็กมากซ้ำร้าย
บางภาพหลุดลอกออกเหลือเพียงใบหน้าครึ่งซีกจ่างก็สามารถ
เขียนได้เหมือนเป็นที่พึงพอใจแก่ลูกค้าแม้จะมีรายได้ดีเพียงพอ
ที่จะเลี้ยงครอบครับได้เขาก็ถึงจุดอิ่มตัวหันมาศึกษาปรัชญา
อย่างจริงจังพร้อมกับเขียนภาพและบทกวีตามความพอใจ
ของตนการกระทำเช่นนั้นจ่างตระหนักดีว่าความหวังที่จะให้
งานศิลปะและบทกวีที่เขาทุ่มเทชีวิตลงไปกลับมายังผล
ช่วยเหลือครอบครัวเขาไม่ให้อดอยากเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
อย่างไรก็ตามการพร้อมที่จะเผชิญปัญหาคือการเริ่มต้นที่แท้จริง
ของศิลปิน
.............นอกจากนี้อาจเป็นไปได้ว่าความยากจนและการศึกษา
เพียงชั้นมูล (เตรียมประถม)ซึ่งทำให้เขาถูกดูหมิ่นดูแคลนจาก
คนในวงการศิลปะกอปรกับความล้มเหลวในธุรกิจเล็กๆที่เขา
หวังว่าจะมาช่วยจุนเจือครอบครัวเพื่อจะได้ทำงานศิลปะได้
อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังเป็นสาเหตุหนึ่งที่
ทำให้เขาหันมาใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในบ้านและเริ่มทำงานที่
ตนเองพอใจอย่างเป็นบ้าเป็นหลังหลายครั้งที่ผู้เขียนกลับจาก
ทำงานแวะเวียนเข้าไปพูดคุยจ่างจะขนภาพและบทกวีที่เขียนไว้
เป็นปึกใหญ่มาให้ดูและสนทนาถึงคุณค่าของงานแต่ละชิ้นจน
บางครั้งผู้เขียนเองก็ยอมรับว่าไม่อาจรับไหวเนื่องจากจำนวน
งานมีมากเกินกว่าที่จะให้ดูจบในแต่ละครั้งนับวันจ่างจะยิ่ง
เขียนภาพเหมือนตัวเองมากขึ้นๆเขามองหน้าตัวเองจาก
กระจกเงาเห็นเรื่องราวต่างๆออกมาโดยใช้ใบหน้าตนเอง
เป็นเพียงสัญลักษณ์อย่างหนึ่งเท่านั้นเขาใช้เส้นและสีขีดเขียน
ด้วยเทคนิคง่ายๆในเบื้องต้นแล้วค่อยสลับซับซ้อนมากขึ้นกลายเป็น
ริ้วรอยของอารมณ์ที่บ่งบอกความเป็นคนของเขาได้อย่างวิจิตรพิศดาร
ภาพเหมือนตัวเองของจ่างเป็นการเขียนภาพคนที่พัฒนาไปอย่างไม่มี
ขอบเขตจำกัดแม้จะขาดแคลนวัสดุและอุปกรณ์แต่นั่นไม่ใช่อุปสรรค
ในการแสดงคุณค่าทางปัญญาออกมาจ่างสนุกกับการทำงานเพียง
ปากกาลูกลื่นและกระดาษโรเนียวจ่างก็สามารถสร้างงานวาดเส้นได้
อย่างงดงามมีชีวิตจิตใจไม่แตกต่างไปจากการวาดภาพสีน้ำมันบนผ้าใบ
เขาไม่สนใจว่ารูปแบบของงานจะออกมาเป็นเช่นใดเมื่อลงมือทำเขาจะ
ทำต่อเนื่องจนกว่าจะเสร็จสิ้นบางครั้งเขาเขียนภาพถึง 4-5ภาพ
ในเวลาเดียวกันแต่น่าแปลกที่รูปแบบของงานเหล่านั้นกลับแตกต่าง
กันอย่างไม่น่าเชื่องานที่จ่างสร้างขึ้นมีทั้งแบบเหมือนจริงอิมเพรสซันนิสม์
โฟวิสม์เซอร์เรียลลิสม์จนถึงนามธรรมโดยที่เขาไม่เคยสนใจลัทธิเหล่านี้
เขาทำงานไปตามที่ใจต้องการเท่านั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างซ่อนอยู่
ในงานของเขาหากพิจารณาตามลำดับการสร้างงานเราจะเห็นว่า
.............ช่วงแรกระหว่างปีพ.ศ.2512 – 2518จ่างใช้สีน้ำมันสลับกับ
หมึกและปากกาเขียนเป็นเส้นและจุดที่ค่อนข้างละเอียดเขียนซ้ำต่อเนื่อง
จนเกิดภาพขึ้นโดยไม่มีการ่างเค้าโครงขึ้นมาก่อน (ภาพพ.ศ. 2512)
จ่างไม่ใส่ดวงตาในภาพเหมือนของเขาและมีหลายภาพที่จ่างทำ
เช่นนี้ดูเหมือนเขาจะเห็นว่าคนที่ไม่มีดวงตาคือผู้ที่บรรลุธรรมแล้ว
ไม่จำเป็นต้องมองเห็นหรือรับรู้อะไรอีก (ภาพพ.ศ. 2517 )
ดูเหมือนจะสนับสนุนแนวคิดนี้ภาพเหมือนของเขามีเพียงเส้นรอบ
นอกของศีรษะและไหล่กับเส้นผมที่เกิดจากปลายภู่กันกับหมึก
แห้งซึ่งตวัดเพียงไม่กี่ครั้งแต่ให้ความรู้สึกอ่อนพลิ้วงดงามอย่างยิ่ง
.............ช่วงปีพ.ศ. 2520 – 2527เป็นช่วงที่จ่างใช้สีน้ำมันเขียนภาพ
บนผ้าใบไว้มากที่สุดเขาขึงผ้าใบไว้มากที่สุดเขาขึงผ้าใบขนาดเล็กๆ
ไว้เป็นสิบๆชิ้นและจะเขียนครั้งเดียวให้เสร็จเป็นชุดๆหรือเขียน
ติดต่อกันหลายวันในเนื้อหาและความรู้สึกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
ภาพสีน้ำมันของเขามีโทนสีที่ค่อนข้างหนักแลดูมืดและเร้นลับ
แสดงพื้นผิวให้เห็นด้วยการป้ายพู่กันอย่างฉับพลันจ่างมักจะสื่อ
ความรู้สึกผ่านดวงตาบางครั้งเขาก็เขียนให้ดวงตาแดงก่ำหรือปล่อย
ให้ดวงตาว่างเปล่าอีกในช่วงหลังๆเขาใช้สีเพียงไม่กี่สีจับเอา
บุคลิกง่ายๆของตัวเองเหลือเส้นไม่กี่เส้นจนกลายเป็นสัญลักษณ์
.............ในช่วงปีพ.ศ. 2528จ่างใช้วิธีแต้มสีลงบนผ้าใบกระจายไปทั่ว
ภาพจนเกือบไม่หลงเหลือรูปใบหน้าของตนเองงานชุดนี้แสดงให้เห็นว่า
จ่างมีความสามารถในการใช้สีไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าศิลปินคนอื่นๆ
ก่อนหน้านี้เขาถูกมองว่าเขียนได้แต่ภาพขาว-ดำภาพคนเหมือนในชุดนี้
ค่อนข้างจะลึกลับน่ากลัวมีพลังอำนาจและอัดแน่นไปด้วยอารมณ์อัน
ตึงเครียดอย่างเห็นได้ชัดอย่างไรก็ตามบางครั้งจ่างก็ผ่อนคลายตัวเอง
โดยเขียนภาพเหมือนจริงใบหน้าของเขาแสดงถึงความหยิ่งในศักดิ์ศรี
ของความเป็นคนและความจริงจังต่อชีวิตท่ามกลางความผันผวน
และเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งที่อยู่รอบตัวโดยจ่างเขียนพื้นหลังอย่าง
อิสระแตกต่างกับใบหน้าอย่างสิ้นเชิงช่วงปลายปีพ.ศ. 2528ฐานะการ
เงินของจ่างแย่ลงแม้จะมีรายได้จากการเป็นผู้บรรยายในมหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์บ้างแต่ก็ไม่เพียงพอที่จะ
ทำให้ครอบครัวอยู่อย่างพอกินพอใช้ได้เขาหันมาเขียนสีน้ำมันลงบน
กระดาษมากขึ้นการเขียนสีอย่างฉับพลันปรากฏเป็นริ้วรอยของสีที่
สนุกสนานอย่างยิ่งแสดงทักษะอันสูงยิ่งหลายภาพในช่วงนี้เป็นการ
ผสมผสานกันระหว่างจิตรกรรมกับบทกวีภาพใบหน้ามีความลึกลับ
น่ากลัวยิ่งขึ้นความรู้สึกนี้เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2519
จ่างใช้สีน้ำแต้มเป็นจุดเหมือนซ่อนอยู่ในความมืดเงียบและวังเวง
ภาพบางภาพดูคล้ายอยู่ในภาวะจิตที่เก็บกดคล้ายงานของ
ฟินเซนต์ฟานก๊อกที่เขียนภาพด้วยสีและแสงที่ระยิบระยับพร่าพราย
ไปในทิศทางต่างๆจ่างเขียนภาพใบหน้าตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆเสมือน
การเดินทางที่นับวันจะลึกเข้าไปในโลกส่วนตัวมากขึ้นทุกทีบางครั้ง
เค้าโครงใบหน้าดูเรียบง่ายมีโครงสีที่อ่อนหวานนุ่มนวลแต่บางครั้ง
ก็มีความรู้สึกที่แข็งกร้าวดุดันและน่ากลัวคล้ายกับว่าจ่างกำลังหาทางออก
อะไรบางอย่างในการทำงานในช่วงปี 2530จ่างกลับมาใช้ปากกาลูกลื่น
กับกระดาษวาดเส้นใบหน้าตัวเองอย่างค่อนข้างละเอียดและแผ่วเบา
เส้นปากกาม้วนตัวพลิ้วอย่างมีชีวิตชีวาจ่างควบคุมน้ำหนักของเส้นได้อย่าง
ยอดเยี่ยมเขาไม่ปล่อยให้ปากกาลูกลื่นปรากฏรอยหมึกที่ปกติจะทะลัก
ออกมาเมื่อเขียนนานเข้าเข้าใจว่าเขาจะต้องคอยเช็ดปลายปากกา
บ่อยครั้งในการวาดจากภาพใบหน้าที่อวบอ้วนเปล่งประการด้วยอณู
ของเส้นที่รวมตัวกันจนเกิดปริมาตรของรูปที่แตกต่างกันออกไปอย่างไม่
หยุดยั้งเช่นนี้ต่อมาได้เริ่มเปลี่ยนแปลงมากขึ้นภาพที่ไร้ดวงตายังปรากฏอยู่
เส้นที่วกวนทำให้ใบหน้าพร่ามัวเหมือนอยู่ในบรรยาศแห่งความฝัน
ช่วงปีกว่าก่อนเสียชีวิตขณะที่จ่างล้มเจ็บลงเขาก็ยังคงพยายามเขียนภาพ
เหมือนตัวเองอยู่เช่นเดิมทว่าภาพที่ปรากฏดูมีจิตวิญญาณราวกับไม่ใช่
ภาพเหมือนอีกต่อไปใบหน้าดำเกรียมและริ้วรอยที่ยับแข็งเหมือนโลหะตัด
กับหนวดเคราและเส้นผมขาวโพลนอันอ่อนนุ่มราวกับปุยนุ่นนั้นกลับแลดู
คล้ายใบหน้าของนักบวชผู้เคร่งครัดต่อการเรียนรู้จนบรรลุธรรมสู่ภพใหม่
ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดไป