..........จ่าง แซ่ตั้ง.. ศิลปินผู้วายชนม์ไปแล้วแต่เขาได้ฝากร่องรอย
เรื่องราวของชีวิตให้เล่าขานกันไม่รู้จบ
..นอกจากนั้นผลงานของเขา
ไม่ว่าจะเป็นกวีนิพนธ์ วาดเส้น และจิตรกรรม
...ยังเป็นรูปรอยแห่ง
การบันทึกแห่งยุคสมัยให้คนรุ่นหลังได้อ่าน
. ชื่นชม .ศึกษา.เสมือน
เป็นแบบอย่างทางทัศนศิลป์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อวงการศิลปะ
ของบ้านเราแทบจะกล่าวได้อย่างเต็มเสียงว่าจ่าง
..แซ่ตั้งเป็นศิลปิน
คนหนึ่งที่ไร้สำนักสังกัด
..เขาทำงานศิลปะด้วยความเชื่อและศรัทธา
ในพลังแห่งก่ารสร้างสรรค์ทั้งมวล
.และเขาก็ไม่พยายามที่ขนขวาย
หาแหล่งเกาะเหนี่ยว
...เพื่อที่จะสนับสนุนตัวเองให้รุ่งโรจน์แล่นอยู่
ในวังวนที่ชุลมุนของชุมชนศิลปินอีกด้วย
..........ปูมหลังของอหังการ์ศิลปินคนนี้ .ถูกบันทึกไว้ให้ได้รับรู้ว่า
เขามีโอกาสได้เล่าเรียนหนังสือเพียงแค่ชั้นมูล
..จากโรงเรียน
เทศบาลสอง
...วัดพิชัยญาติ ...ธนบุรี ..แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลก
ครั้งที่ 2
.เขาเลยต้องออกมาช่วยพ่อแม่ค้าขาย ..จากการหักมุม
วิถีชีวิตที่ควรจะเป็นในวัยเด็กที่ไม่มีทางเลือกนี่เอง
..ได้ทำให้
เด็กชายจ่าง
..เริ่มหัดขีดเขียนในสิ่งที่ตัวเองอยากจะทำในวัยเพียง
9 ขวบ
.....พออายุ 10ขวบก็รับแจวเรือจ้างให้คนโดยสารข้ามฝาก
แถววัดแจ้งและปากคลองบางหลวงเอาเงินมาซื้อกระดาษดินสอ
และสีเพื่อมาเขียนรูป
..เบื้องต้นนั้นเขาเริ่มหัดเขียนรูปคนที่ใกล้ชิด
ก่อนเช่นพ่อแม่พี่น้อง
.การฝึกฝนมุ่งมั่นพยายามหลายขวบปีติดต่อ
กันอย่างไม่ลดละ
..........การเรียนรู้ด้วยตนเองบวกกับสถานะภาพของครอบครัว
ที่เป็นสามัญต่อสู้ดินรนเพื่อความอยู่รอด
..ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้
จ่างมีปูมสำนึก
..เนื้อหาเรื่องราวที่จะถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก
ในสิ่งที่เขาเห็นและสัมผัสออกมาได้อย่างพรั่งพรูและด้วยความ
ที่เขาไม่เคยผ่านสถาบันการศึกษาศิลปะใดๆมาก่อนจึงทำให้เขา
มีอิสระที่จะแสดงออกทางทัศนศิลป์อย่างไม่มีขอบเขตขีดจำกัด
รสชาดแห่งการแสดงออกทางสีอารมณ์รูปทรงสามารถสำแดงออก
มาได้อย่างใจปรารถนา
..ไม่มีถูกไม่มีผิด..เขาเรียนรู้เส้นเอ็นเนื้อหนัง
กระดูกทุกส่วนที่เคลื่อนไหวทำงานด้วยการกรำงานด้วยตนเอง
ไม่ใช่จากหนังสือ Anatomyเล่มใด
....เส้นสีที่แสดงออกในผลงาน
แต่ละชิ้น
..ตัวหนังสือที่จารึกอยู่บนหน้ากระดาษแต่ละคำของเขา
จึงเต็มไปด้วยชีวิตจิตวิญญาณที่โลดแล่นอย่างมีตัวตน

..........การสำแดงออกอย่าง Expressionism..ที่เห็นอยู่ในผลงานทาง
จิตรกรรม
.....และวาดเส้นของเขานั้นคือรูปรอยทางอารมณ์และ
ตรรกะแห่งหมึกชีวิตของจ่าง
.....ที่แลกมันมาด้วยการเดินทางอัน
ยาวนาน
.....แน่นอนว่ามันไม่ใช่ความละมุนละไมที่ทอดยาวด้วย
ลอนหญ้าฟ้าคราม
..แต่มันเต็มไปด้วยหยาดเหงื่อและการถาโถม
เรี่ยวแรงของตัวเองลงไป
....เพื่อจักได้มาในสิ่งที่ต้องการ..ซึ่งการใช้
แบบอย่างแห่ง Expressionism สำแดงออกมา
..ภาพผลงานนั้นจึงเป็น
สิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่ใช่ความบังเอิญหรือเอาตามอย่างแต่มันคือ
ผลึกแห่งปัญญาของเขาเอง
..ในขณะเดียวกันกับผลงานทางกวีนิพนธ์
หรืองานเขียนของเขานั้นก็มีรูปทรงทางอักษรที่ตอกย้ำภาพทาง
ความคิดหรือจินตนาการต่อสังคมวัฒนธรรมอย่างตรงไปตรงมา
หรืออาจจะมีภาพเชิงสัญลักษณ์อยู่บ้างแต่ก็ใช่ว่าจะมีความยากต่อ
การตีความ
..........ดังทัศนะต่อการสร้างสรรค์ศิลปะของเขาที่เขียนไว้ในสูจิบัตร
แสดงงานศิลปกรรมเยาวชนแห่งประเทศไทยครั้งที่ 2ปี 2528ว่า
…สำหรับผลงานศิลปกรรมภาพเขียน
..ฉันก็เขียนถึงปัญญา
ส้รางสรรค์ที่เป็นผลงานสร้างสรรค์ที่บริสุทธิ์
..สร้างด้วยปัญญา
ของตนที่มิใช่ไปลอกเลียนใครแล้วมาอ้างเป็นของตน
..และ
ศึกษาการดำเนินของการสร้างสรรค์ศิลปกรรมทุกยุคทุกสมัย
ว่ามีการสร้างด้วยรูปปัญญามาอย่างไร
..รูปแบบลักษณะเรื่องราว
ดำเนินกันมาอย่างไรตลอดมาจนถึงยุคปัจจุบัน
..ผลงานของฉันที่
สร้างขึ้นมาในยามศึกษาก็ต่างไปอีกอย่างจากยามที่ฉันสร้างงานแล้ว
ฉันไม่อยากย้อนกลับไปสร้างงานแนวเดิมหรือรูปแบบซ้ำสองอย่าง
ที่เคยมีมา
..ฉันหวังสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาเพื่อสร้างเสริมปัญญาของ
ตนเองและผู้อื่นแต่ก็เกิดปัญหาถึงคนในชาติของเรานั้น
จะมีสักกี่คนที่สามารถรับรู้กันได้
..มีคนจำนวนไม่มากเลยที่เข้าใจ
เพราะคนในชาติของเขานั้นตกอยู่ในฐานะปากกับท้อง
..มากกว่า
ที่จะมีโอกาสรู้เรื่องคุณค่า
.ปัญญา.แสดงออกของผลงาน
ศิลปกรรมและบทกวี
...น้อยเหลือเกินที่มีโอกาสสร้างเสริมสมอง
ตัวเองให้ดีขึ้นเพื่อคนไร้ปัญญาแล้วทุกอย่างมันก็ลำบาก
..ถ้าปัญญา
มีเพิ่มพูนขึ้น
..ทุกอย่างก็คงเจริญดียิ่งขึ้น..แต่ก็เป็นปัญหาลำบาก
ทั้งผู้ไม่ร
ู้..ผู้รู้ไม่จริง..ผู้รู้..และผู้รู้ที่อยากจะบิดเบือน….

..........จากข้อเขียนข้างต้นของจ่างแซ่ตั้งจะเห็นว่าเขาไม่เพียงแต่
เข้าใจและซาบซึ้งในสิ่งที่ตัวเองแสดงออกมาทางผลงานศิลปะเท่านั้น
แต่นอกเหนือและสำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือเข้าใจถึงกระบวนการ
ทางสังคมและวัฒนธรรมที่กำลังเป็นอยู่นั้นๆด้วย
..สิ่งเหล่านี้เองที่
ทำให้เขาสะท้อนเรื่องราวต่างๆออกมาได้อย่างเข้มข้นเต็มไปด้วย
พลังและอำนาจทางศิลปะอันเป็นหลักปัญญาที่เกิดจากการทุ่มเท
ตัวเองเข้าไปเรียนรู้อยู่กับมันตลอดชีวิตของการสร้างสรรค์งาน
..........ผลงานภาพเหมือนของตัวเอง (Self Portrait)ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว
ศิลปินจะเขียนภาพเหมือนตัวเองในวาระสำคัญๆหรือเหตุการณ์
สำคัญๆที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกและสภาพแวดล้อมที่ดำรงอยู่
เพราะนั่นหมายถึงสิ่งที่เขา (ศิลปิน)บันทึกลงขณะนั้น
..เป็นสภาวะ
ความเป็นปัจจุบัน (Moment)ที่ตัวตนของตัวเองมีความรู้สึก
..อารมณ์
ต่อเหตุการณ์หรือวาระสำคัญที่เกิดขึ้นและที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่ง
ก็คือเป็นการประกาศความเป็นตัวตนผ่านรูปตัวแทน
..โดยให้ภาพ
เหมือนเป็นตัวสื่อบอกกับผู้เสพ
.ผ่านอำนาจการบอกเล่าทางสัญญาต่างๆ
ที่ศิลปินเขียนกำกับลงไปไม่ว่าจะเป็นเส้นสีรูปทรงของใบหน้าอาการที่
แสดงออก
..ภาพเหมือนหนึ่งๆนั้นสามารถที่จะเล่าเรื่องเหตุการณ์ที่
เกิดขึ้นได้อย่างลึกซึ้ง
..........กับภาพเหมือนตัวเองของจ่างแซ่ตั้งก็เช่นเดียวกันซึ่งศิลปิน
ได้เขียนภาพของตัวเองในต่างกรรมต่างวาระ..แต่กับจำนวน 400ชิ้น
ที่นำออกมาแสดงนั้นถือว่าเป็นจำนวนไม่น้อยที่เราได้บันทึกใบหน้า
ของตัวเองเสมือนเป็นสมุดบันทึกเล่มใหญ่ที่ใส่รายละเอียดแห่งตัวตน
ของเขาให้ผู้ชมได้อ่านทุกบททุกตอนของชีวิตอย่างไม่ปิดบัง..ที่
กล่าวเช่นนี้เพราะภาพเหมือนของตัวเองของจ่างนั้นจะเขียนใบหน้า
ของตัวเองเต็มเฟรมและเผชิญหน้ากับผู้เสพชมอย่างไม่หลีกเลี่ยง
ดวงตาและริ้วรอยต่างที่ปรากฎออกมาสามารถส่งลื่อถึงนัยยะของ
คำถามคำตอบได้ทุกอาการ
..........ข้อสังเกตประการหนึ่งในภาพเหมือนของตัวเองของเขา
ส่วนมากแล้วจ่างจะใช้ดวงตาและแววตาเป็นภาษาบ่งบอกถึงสภาพอาการ
ทางอารมณ์ความรู้สึกต่อผู้ชมในช่วงต่างๆ..อย่างเห็นได้ชัด..อย่างช่วงปี
1970-1980 (2513-2523)ดวงตาและใบหน้าจะปรากฎเห็นถึงความ
กังวล..สงสัย..เปลือกตาทั้งล่างและบนแสดงให้เห็นถึงภาวะของการ
เคร่งคิดในขณะภาพเขียนในช่วงต่อมาหลังจากนั้น..จะเป็นการบ่งบอก
ถึงการเผชิญอะไรบางอย่างกับวิถีชีวิตตัวเองเหมือนจะบอกว่า
ฉันไม่เคยหวั่นไหวกับอะไร”ดั่งดวงตาที่ลุกโชนแววตาฉาดฉายถึง
ความมุ่งมั่นและท้าทาย..ภาพเกือบทั้งหมดในช่วงนี้ไม่แน่ใจว่าผู้เสพชม
จักกล้าจะเผชิญหน้ากับจ่างแซ่ตั้งได้นานแค่ไหน
..........มีความเชื่อมั่นอย่างหนึ่งว่าถ้าจะมีนักศึกษาหรือนัก
ประวัติศาสตร์ศิลป์ที่สนใจศึกษาเรื่องราวความสัมพันธ์ของ
ภาพเหมือนตัวเองของศิลปินกับความเคลื่อนไหวทางสังคม
และวัฒนธรรมในช่วงๆหนึ่งแล้ว..ขอยืนยันว่าผลงานภาพเหมือน
ตัวเองของจ่างแซ่ตั้งจะเป็นกุญแจไขไปสู่ประเด็นการศึกษาได้
ในหลายๆกรณี..ไม่ว่าสภาวะทางการเมือง..ความเคลื่อนไหวทาง
ศิลปะและเงื่อนไขทางวัฒนธรรมในช่วงนั้นๆด้วย..แต่ทั้งนี้ก็ต้อง
ศึกษาบนกวีนิพนธ์ของศิลปินควบคู่ไปด้วย..เพราะคำและ
จินตนาการ (Word and Image)ที่มีในภาพและตัวอักษรนั้นต่าง
เกื้อกูลสนับสนุนกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
..........จริงๆแล้วผลงานภาพเหมือนตัวเอง(Self Portrait)ของ
จ่างแซ่ตั้งก็คือบันทึกตัวเองผ่านรูปแบบทางจิตรกรรมและ
วาดเส้นที่เต็มไปด้วยริ้วรอยทางเรื่องราวทั้งส่วนตัวและสังคม
วัฒนธรรมที่รายรอบตัวเราและเป็นการประกาศถึงอำนาจแห่ง
ตัวตนในความเป็นอหังการ์อีกด้วย